วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่16วันพฤหัสบดีที่1มีนาคม2555

- อ.จ๋าให้จับกลุ่ม 4 คนเพื่อทำงานกลุ่ม โดยอาจารย์ให้ทำ จับคู่ภาพคำ (ได้ ร.เรือ)
- ให้นำเสนองานที่ค้างไว้








- อาจารย์ จ๋าพาร้องเพลง  ก - ฮ
 >>  ก.ข.ฃ.ค.ฅ.ฆ.ง.จ.ฉ.ช.ซ.ฌ.ญ.ฎ.ฏ.ฐ.ฑ.ฒ.ณ.ด.ต.
ถ.ท.ธ.น.บ.ป.ผ.ฝ.พ.ฟ.ภ.ม.ย.ร.ล.ว.ศ.ษ.ส.ฬ.อ.ฮ.


-  ทำนองในการร้อง  จังหวะ  ภาษา  ที่ถูกต้อง
- เรียนเรื่องพยัญชนะต้น 



พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 รูป
พยัญชนะมี 21 เสียง
  1. ข ฃ ค ต ฆ
  2. ฉ ช ฌ
  3. ซ ศ ษ ส
  4. ญ ย
  5. ฎ ด กับเสียง
  6. ฑ บางคำ
  7. ฏ ต
  8. ฐ ถ ฑ ฒ ท ธ
  9. น ณ
  10. ผ พ ภ
  11. ฝ ฟ
  12. ล ฬ
  13. ห ฮ
  14. เสียง อ ไม่นับ
เสียงพยัญชนะ
พยัญชนะเสียงสูง  : ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
พยัญชนะเสียงกลาง  : ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
พยัญชนะเสียงต่ำ  : ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

พยัญชนะเสียงสูง

        มี 11 ตัว เเละผันได้ เสียงที่ ๕, ๒ เเละ ๓
อักษรสูง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับสูง มีทั้งหมด 11 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ ผ ฝ ถ ฐ ข ฃ ศ ษ ส ห ฉ ผี ฝาก ถุง ขาว สาร ให้ ฉัน

พยัญชนะเสียงกลาง

        มี 24 ตัว เเละผันได้ทั้งหมดห้าเสียง
อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง การผันวรรณยุกต์กับอักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง ใช้วรรณยุกต์ได้ 4 รูป

พยัญชนะเสียงต่ำ

        มี 9 ตัว เเละผันได้ เสียงที่ ๑, ๓ เเละ ๔ อักษรต่ำ หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับต่ำ มีทั้งหมด 24 ตัว
  • ต่ำคู่ มีเสียงคู่อักษรสูง 14 ตัว
พ ภ ฟ ฑ ฒ ท ธ ค ต ฆ ซ ฮ ช ฌ
  • ต่ำเดี่ยว(ไร้คู่) 10 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ
ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก

หน้าที่ของพยัญชนะ


ทำหน้าที่ เป็นพยัญชนะต้นกา

        เป็น สัตว์ ใกล้สูญพันธ์ ก ป ส กล ส พ เป็นพยัญชนะต้น

 ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์'(ตัวสะกด)

เกิด เป็น ชาย หมาย รัก นี้ หนัก อก
        พยัญชนะที่ขีดเส้นใต้เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์หรือท้ายคำ เรียกว่าตัวสะกด
พยัญชนะตัวสะกด
        พยัญชนะตัวสะกด มีทั้งสิ้น 39 ตัวเท่านั้น ที่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยแบ่งเป็น ๘ เสียงเรียกว่ามาตราตัวสะกด ๘ มาตราดังนี้
  • แม่กก ออกเสียงสะกด ก ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด
เช่น นก เลข โรค เมฆ
  • แม่กด ออกเสียงสะกด ด ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฒ จ ช ซ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น
เปิด จิต รถ บาท โกรธ กฎ ปรากฏ เท็จ บงกช ก๊าซ อากาศ พิเศษ โอกาส อิฐ
  • แม่กบ ออกเสียงสะกด บ ซึ่งจะใช้พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด เช่น ดาบ บาป ภาพ กราฟ โลภ
  • แม่กน ออกเสียงสะกด น ซึ่งจะใช้พยัญชนะ น ร ญ ล ฬ เป็นตัวสะกด
เช่น แขน คูณ บุญ อาหาร กล ปลาวาฬ
  • แม่กง ออกเสียงสะกด ง ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ง เป็นตัวสะกด
เช่น จริง วิ่ง ลิง สิงห์ พิง มุ่ง สั่ง
  • แม่กม ออกเสียงสะกด ม ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ม เป็นตัวสะกด
เช่น นม ดม ลม พรม สม ชิม แยม
  • แม่เกย ออกเสียงสะกด ย ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ย เป็นตัวสะกด
เช่น ยาย เนย เคย เลย คุย
  • แม่เกอว ออกเสียงสะกด ว ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ว เป็นตัวสะกด
เช่น สิว หิว วัว

 ทำหน้าที่เป็นอักษรควบ

พยัญชนะควบกล้ำ
        นอกจากเสียงนั้นยังมีพยัญชนะควบกล้ำ พยัญชนะกล้ำคือพยัญชนะ 2 ตัวประสมสระเดียวกันมี ร ล ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
  • ควบกล้ำแท้ เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงพร้อมกันทั้ง 2 ตัว เช่น
ควบด้วย ร กรอบ กราบ เกรง ครอบครัว ควบด้วย ล กล้วย กลีบ ไกล แปลง ควบด้วย ว ไกว แกว่ง ควาย ขว้าง
  • ควบกล้ำไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่เขียนเหมือนควบกล้ำแท้ ร แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว เช่น
จริง สร้าง สระ เศร้า แสร้ง ศรี อ่านว่า (จิง) (ส้าง) (สะ) (เส้า) (แส้ง) (สี) ตัวอย่างคำอักษรควบแท้และไม่แท้
กราดเกรี้ยวเกลียวคลื่นคล้าย
ปลุกปลอบควายคลายโกรธเกรี้ยว
ตรวจตรากล้าจริงเพรียว
ขวักไขว่คว่ำกล้ำกลบคลอง
ทรายเศร้าเคล้าคลึงศรี
ทราบโทรมตรีปลีกล้วยพร่อง
ครึ้มครึกตริตรึกตรอง
เปล่าพลิกกลองแปรเปลี่ยนแปลง

 ทำหน้าที่เป็นอักษรนำ-อักษรตาม

อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำ แบ่งตามลักษณะการอ่านได้ 2 ชนิด คือ
  • อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียวกัน เมื่อมีตัว ห และ ตัว อ เป็นอักษรนำ ตัวอย่างเช่น
เมื่อมีตัว ห เป็นอักษรนำ เช่น หรู หรา หญิง เหลือ หลาย เหลว ไหล หรู หรา –หรูหรา - ห อักษรสูง นำ ร อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห หญิง หญ้า ใหญ่ -หยิง- ห อักษรสูง นำ ญ อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
  • เมื่อมีตัว อ เป็นอักษรนำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
อย่า อยู่ อย่าง อยาก -หย่า หยู่ หย่าง หยาก-อ อักษรกลาง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม อ
  • อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ โดยพยางค์แรกอ่านออกเสียงเหมือนมีสระ อะ ประสมอยู่กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านตามสระที่ประสมอยู่ และอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก เช่น
ขยับ ขะ-หยับ ข อักษรสูง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ฉลาม ฉะ-หลาม ฉ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ตลาด ตะ-หลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต
สนาม สะ-หนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส
ผลิต ผะ-หลิต ผ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ
ตัวอย่างคำอักษรนำ-อักษรตาม
ขยะขยาดตลาดเสนอ.........ฉลาดเสมอเฉลิมไฉน
สนิมสนองฉลองไสว..........เถลไถลหวาดหวั่นแสวง
อย่าอยู่อย่างอยากเผยอ..........ตลิ่งตลบเสนอถลอกแถลง
จมูกถนัดขยะแขยง...............สวะสวิงหน่ายแหนงขยับขยาย
หรูหราหรุบหรับ(สา)หร่าย... สลับสลายเสนาะสนุกสนาน
สลิดเสลดสลัดสมาน .. หหวังหลอกเหลนหลานหลากหลาย

 ทำหน้าที่เป็นเป็นสระ (อ ว ย ร)

เช่น สรรค์ รร ทำหน้าที่แทนวิสรรชนีย์ หรือสระอะ กวน ว เป็นสระอัวลดรูป เสีย ย เป็นส่วนประกอบของสระเอีย ขอ เสือ มือ อ เป็นสระ และเป็นส่วนหนึ่งของสระ

 ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์

เช่น จันทร์ ทร์ เป็นตัวการันต์ ลักษณ์ ษณ์ เป็นตัวการันต์ ศิลป์ ป์ เป็นตัวการันต์


พยัญชนะไทยที่พึงสังเกตและควรจดจำ

อักษร ฃ นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฃ และสันนิษฐานว่า ฃ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ข โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ข แทนเป็นที่น่าสังเกตว่า ฃ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "ขวด" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก็ไม่เคยเขียนด้วย ฃ (นั่นคือ ฃวด) มาก่อนเลย สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรก ๆ นั่นเองที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง
อักษร ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน)
อักษร ฑ ในคำไทย บางคำอ่านออกเสียงเป็น /ท/ อย่างคำว่า มณโฑ (มน-โท) บุณฑริก (บุน-ทะ-ริก) แต่บางครั้งออกเสียงเป็น /ด/ เช่น มณฑป (มน-ดบ) บัณฑิต (บัน-ดิด)
อักษร ณ เพียงตัวเดียวสามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ ณ อ่านว่า นะ แปลว่า "ที่" เป็นคำบุพบท
อักษร บ เพียงตัวเดียวแล้วเติมไม้เอก โดยไม่มีสระ สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ บ่ อ่านว่า บ่อ หรือ เบาะ แปลว่า "ไม่" เป็นคำพิเศษที่แสดงถึงความเป็นตรงกันข้าม
อักษร ร ที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระ ออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น คำไทยบางคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต จะมี ร ซ้อนกันสองตัวเรียกว่า ร หัน (รร) เมื่อตามหลังพยัญชนะต้นจะออกเสียงคล้ายมีสระ อะ และสะกดด้วยแม่กนหรือพยัญชนะตัวถัดไป เช่น บรรพชา (บัน-พะ-ชา) สรรพ (สับ) ธรรมะ (ทัม-มะ) เป็นต้น
อักษร ว รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็น สระ อัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระ อัวะ และ อัว
อักษร ห จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง
อักษร ฬ ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ
อักษร อ รูปสระ ตัวออ (อ) ยังสามารถใช้เป็นสระ ออ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ใช้ถัดจากสระ อื เมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น ถือ และใช้ประสมสระ เอือะ เอือ เออะ และ เออ โดยทั่วไปเรามักจัดให้ อ เป็นเสียงนำสระ แต่ในทางภาษาศาสตร์ ถือว่า อ นั้น เป็นพยัญชนะปิดหรือหยุด
อักษร ฮ จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  • อาจารย์พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เจ้าของ www.thaigoogview.com บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษานวัตกรรมชิ้นนี้ขอมอบให้กับการศึกษาของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทยทุกคน ที่จะก้าวทันเทคโนโลยีในปัจจุบัน จัดทำโดย
คุณครูสุนทร ทองสุข โรงเรียนบ้านหนองมั่ง กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
  • หนังสือดรุณศึกษา ตำราเรียนภาษาไทย, ฟ. ฮีแลร์ ผู้แต่ง ร.ร. อัสสัมชัญ บางรัก ได้แต่งและเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ.๑๙๑๐) สำหรับประกอบการเรียนในระดับ ชั้นเตรียมประถม ถึงประถมปีที่ ๔ , ทวพ, ๒๕๔๘
  • อ. ปุณฑริกา ยอดแก้ว , elearning ภาษาไทย, ร.ร.อัสสัมชัญธนบุรี
  • วิกิพีเดียไทย


คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำสมาส คำสนธิ คำแผลง
PDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   

คำมูล
    คือคำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียวโดดๆ เช่น ไฟ ขัน

คำประสม
    คือ การนำคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกัน เช่น ขายหน้า ชาวนา เป็นต้น

คำซ้ำ
    คือ คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยใช้คำเดิม แต่มีความหมายต่างไปจากเดิม เช่น ของดีๆ เด็กๆ กินๆนอนๆ

คำซ้อน
    คือ การนำคำที่มีความหมายคล้ายกันหรือไปทำนองเดียวกันมารวมกัน มี ๒ ลักษณะ คือ
    ๑.คำซ้อนเพื่อเสียง เช่น กรีดกราด ฟืดฟาด
    ๒.คำซ้อนเพื่อความหมาย เช่น นิ่มนวล ลับลมคมใน

คำสมาส
คือ การนำำคำภาษาบาลีและสันสกฤต ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน เช่น
         อัคคี + ภัย = อัคคีภัย
        พระ + กรรณ = พระกรรณ

คำสนธิ
คือ การนำคำภาษาบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการกลืนเสียง เช่น
       นย + อุบาย = นโยบาย
      ธนว + อาคม = ธันวาคม

คำแผลง
คือ การเปลี่ยนเสียงและรูปพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ ให้ปตกต่างไปตามเดิม โดยจะใช้คำในภาษาใดๆก็ได้ เช่น
      บวช ---> ผนวช



การบ้าน  
- จับกลุ่ม  กลุ่มละ 4 คน 
- ทำภาพ  คำซ้ำ  คำผสม เป็นกลุ่ม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น